Year published :พ.ศ. 2564 (ธันวาคม)

Pages :260 หน้า สี่สีทั้งเล่ม

Size :23.5 x 28.5 ซม. ปกผ้า หุ้มแจ็กเก็ต

ISBN: 9786162151828

ส่องลายคราม สืบหาจีนกรุงศรีฯ (ปกแข็ง)

by พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร

ปกแข็งสันโค้ง หุ้มผ้า มีแจ็กเก็ต กระดาษอาร์ต สี่สีทั้งเล่ม

ส่องลายคราม สืบหาจีนกรุงศรีฯ เป็นประวัติศาสตร์ของอยุธยาที่แฝงอยู่ในพยานวัตถุเช่นเครื่องกระเบื้อง ที่นักสะสมไทยนับสิบชั่วคนสงวนรักษาสืบทอดกันมา ที่พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ถ่ายทอดจากการสะสมและศึกษาเครื่องลายคราม ร่วมกับบทความการเดินทางของเครื่องกังไสของเศรษฐพงษ์ จงสงวน   และอิ่มตากับประไพสิทธิ์ ตัณฑ์เกยูร คอลเลกชัน  หนังสือเล่มนี้บรรจงบรรจุภาพโก๋วต้ง...อยุธยาไว้ในปกผ้าปักไหมของ จักกาย ศิริบุตร ด้วยถึงเวลาเปิดกรุกรุงเก่าที่สูญไปกว่า 250 ปี

เกี่ยวกับผู้เขียน

พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร เกิดที่กรุงเทพฯ จบการศึกษาที่ London School of Economics and Political Science (LSE) และ Cornell University เคยสอนที่คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ปัจจุบันทำธุรกิจส่วนตัว   มีผลงานเขียน หลายเล่ม อาทิ สำเภาสยาม ตำนานเจ๊กบางกอก (2544/2001), นายแม่ (2547/2004), กระเบื้องถ้วยกะลาแตก (2550/2007), และงานภาษาอังกฤษ Bencharong & Chinaware in the Court of Siam: The Surat Osathanugrah Collection (2554/2011), A History of the Thai-Chinese (2558/2015)

******

“... แม้หนังสือเล่มนี้จะอ่านง่าย แต่ก็ลุ่มลึกมิพักต้องเอ่ยถึงภาพประกอบจำนวนมากหนังสือเล่มนี้ปริทัศน์เครื่องลายครามที่มีอายุในช่วงกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจึงมีการกล่าวถึงความผันแปรทางการเมืองในแต่ละยุคสมัยคู่ขนานไปกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมืองจีนทำให้ประวัติศาสตร์มีชีวิตชีวาขึ้นมาก เพราะเครื่องลายครามต่างๆ ในเล่มนี้เป็นพยานให้กับเรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ในระดับชนชั้นปกครอง ไปจนถึงวิถีชีวิตของผู้คนยุคนั้น
[หนังสือเล่มนี้] … ไม่แต่ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์การเมืองเท่านั้น หากยังสะท้อนมิติของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ และประวัติศาสตร์สังคมในกรุงศรีอยุธยาอย่างสำคัญ”—. ศิวรักษ์

ความน่าสนใจของงานเขียนชิ้นนี้ก็คือ การใช้ประวัติศาสตร์ของราชวงศ์จีนที่มีการบันทึกเป็นหลักเป็นฐาน ส่องเข้ามายังประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ไทยดังนั้น เครื่องเคลือบจีนที่พบในเมืองไทยจึงกลายเป็นพาหะให้เราทราบถึงความสัมพันธ์ไทยจีน จากราชวงศ์ ทั้ง 5 ของกรุงศรีอยุธยาควบคู่ขนานกันไปกับราชวงศ์ของจีนจากยุคสมัยของเครื่องลายครามจนกระทั่งถึงเบญจรงค์ที่สีสันเป็นที่ตื่นตาตื่นใจ ทั้งเจ้านายและขุนนาง จากสมัยอยุธยา ผ่านธนบุรี ถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น”—ชาญวิทย์ เกษตรศิริ