Year published :กันยายน 2565 (2022)

Pages :280 หน้า

Size :14.5 x 21.0 ซม.

ISBN: 9786162151910

ประวัติศาสตร์จีนหลังเหมา

by Silkworm Books

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ และ วาสนา วงศ์สุรวัฒน์

เล่มแรกและเล่มเดียวที่นำเสนอประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่หลังการล่มสลายของลัทธิเหมา เป็นประวัติศาสตร์จีนยุคปฏิรูปจนถึง COVID-19 ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดในภาษาไทย

บางส่วนจากคำนำ

… ทำไมต้องหลังเหมา? และควรจะเรียกว่าเป็นประวัติศาสตร์จีน “หลังเติ้ง” มากกว่าหรือไม่?   เมื่อเติ้ง เสี่ยวผิง ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและประกาศนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศในปี ค.ศ. 1978 นั้นประเทศจีนได้เปลี่ยนไปเป็นคนละประเทศโดยสิ้นเชิงจากสาธารณรัฐประชาชนจีนในยุคที่เหมา เจ๋อตง เป็นผู้นำสูงสุด   เติ้งนำเศรษฐกิจจีนเข้าสู่ตลาดโลกและเปิดรับการค้าการลงทุนจากต่างประเทศทุกประเทศโดยไม่จำกัดอุดมการณ์ทางการเมือง ยกเว้นทุกประเทศที่จะค้าขายกับจีนต้องยอมรับในอุดมการณ์จีน   รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนหันมาส่งเสริมให้ประชาชนทำธุรกิจ ส่งเสริมการเติบโตของนายทุนแดงซึ่งกลายมาเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนให้มีความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกได้ในทศวรรษ 1990–2000 ทั้งหมดนี้แตกต่างจากยุคเหมาหน้ามือเป็นหลังมือ   แต่ในทางหลักการมิได้เปลี่ยนแปลงมากในสมัยผู้นำคนต่อๆ มาไม่ว่าจะเป็นเจียง เจ๋อหมิน  หู จิ่นเทา  หรือสี จิ้นผิง  ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างมากถึงขั้นที่จะเปลี่ยนไปเป็นอีกประเทศหนึ่ง   หนังสือเล่มนี้ว่า ประวัติศาสตร์จีนหลังเหมา และผู้เขียนได้เลือกจบยุค “หลังเหมา” นี้พร้อมกับการอุบัติขึ้นของโรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) …

เกี่ยวกับผู้เขียน

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. 2515–2556) อาจารย์อาวุโสประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน) เป็นผู้เขียนตำราด้านรัฐศาสตร์และประวัติศาสตร์หลายเล่ม อาทิ หลักรัฐศาสตร์ การเมืองการปกครองไทย และ ประวัติศาสตร์อเมริกา   อาจารย์โกวิทสนใจเรื่องประวัติศาสตร์และการเมืองจีนมายาวนาน และเป็นนักวิชาการไทยกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับเชิญให้เยือนจีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับที่เติ้ง เสี่ยวผิง ประกาศนำนโยบาย 4 ทันสมัยกลับมาใช้ใหม่หลังเปิดประเทศ

วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์จีนโพ้นทะเล  มีประสบการณ์การศึกษาและวิจัยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงหลังปริญญาเอกในสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐจีน และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ตั้งแต่ยุคเจียง เจ๋อหมิน ถึงยุคสี จิ้นผิง   มีผลงานตีพิมพ์ The Crown and the Capitalists: The Ethnic Chinese and the Founding of the Thai Nation และเขียนร่วมกับอาจารย์โกวิท คือ องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้: การก่อตัวของอภิมหาอำนาจใหม่ 

สารบัญ

บทที่ 1 ทำไมต้อง “หลังเหมา”

ประวัติศาสตร์เชิงอุดมการณ์ที่ยังคงคลุมเครือแม้ในยุคหลังเหมา
โครงสร้าง – เนื้อหา – การนำเสนอ

บทที่ 2 ยุคปฏิรูปภายใต้การนำของ เติ้ง เสี่ยวผิง

ขบวนการแก้ไขสิ่งผิด
นโยบายสี่ทันสมัยกับการปฏิรูปและเปิดประเทศ
เขตเศรษฐกิจพิเศษ – SEZs
การส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจในรูปแบบอื่นๆ
การเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศนอกกลุ่มสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และการเปลี่ยนข้างในสงครามเย็น
การเดินทางเยือนไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ในฐานะผู้นำสูงสุดของ เติ้ง เสี่ยวผิง
ปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา และสงครามสั่งสอน (สงครามจีน–เวียดนามปี 1979)
การเจรจากับสหราชอาณาจักรเพื่อรับฮ่องกงคืนสู่จีนในปี 1997
การสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน 4 มิถุนายน 1989

บทที่ 3 ก้าวสู่ศตวรรษจีนกับเจียง เจ๋อหมินและหู จิ่นเทา ค.ศ.1989–2012

ผู้นำรุ่นที่ 3 เจียง เจ๋อหมิน
การปฏิรูปสถาบันการเงินและรัฐวิสาหกิจ
วิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย ค.ศ.1997
การส่งมอบฮ่องกงคืนสู่จีน
การปราบปรามลัทธิฝ่าหลุนกง
องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้
ผู้นำรุ่นที่ 4 หู จิ่นเทา
ซอฟต์พาเวอร์ (Soft Power) ของจีน
พัฒนาการของ หนึ่งประเทศสองระบบ: ความสัมพันธ์กับไต้หวันและฮ่องกง

บทที่ 4 อภิมหาอำนาจโลกกับทศวรรษแห่งวิกฤตการณ์ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ค.ศ.2013–?

นโยบายแถบและทาง (Belt and Road Initiative–BRI)
อุปสรรคและปัญหาในนโยบายแถบและทาง
การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง
วิกฤตการณ์โรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019(COVID-19)
พันธมิตรชานม

บทที่ 5 สรุปส่งท้าย

Related products