Year published :พ.ศ.2566

Pages :80 หน้า

Size :14.5 x 21 ซม.

ISBN: 9786162152030

คำถามสุดท้ายของคัทลิน

by สุกัญญา หาญตระกูล

นางฟ้าของยูริ พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2528 ในนิตยสาร สตรีสารใช้นามปากกา แปงคำ เมื่อบรรณาธิการ สตรีสาร คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง ถามว่า “ยังมีเรื่องจะเล่าต่ออีกไหม” อีก 4 เรื่องจึงได้เขียนตามกันออกมาและตีพิมพ์ใน สตรีสาร ทุกเรื่อง

ทิ้งช่วงหลายปี สุกัญญา หาญตระกูล ได้เขียนอีก 2 เรื่องไว้คือ ดิยาดิยะ คนเดียวของหลาน และ คำสั่งเสียของยูริ เพื่อให้เรื่องราวของ “ยูริ กรานอฟ” ตัวละครเอกในวัยไม้ใกล้ฝั่งได้จบลงอย่างบริบูรณ์ โดยมิได้ตีพิมพ์ที่ใด นับตั้งแต่วันที่เกิดความขัดแย้งครั้งใหญ่ในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นแรงบันดาลใจให้สุกัญญา เขียน พินัยกรรมของคัทลิน ซึ่งได้นำมารวมเล่มตีพิมพ์ด้วยกันให้เรื่องราวของสองผู้เฒ่า ยูริ-คัทลิน ได้จบบริบูรณ์ในเล่มนึ้

สุกัญญา หาญตระกูล อดีตบรรณาธิการร่วม สตรีสาร (2528–34) มีผลงานเขียน ปัญญาแห่งยุคสมัย คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง (2558) และ ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า : จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล (2563)

สารบัญ

  1. พินัยกรรมของคัทลิน
  2. วันกลับบ้าน
  3. นางฟ้าของยูริ
  4. ห้องนอนแห่งใหม่
  5. น้ำชาถ้วยหนึ่ง
  6. ดิยาดิยะ คนเดียวของหลาน
  7. คำสั่งเสียของยูริ
  8. คำถามสุดท้ายของคัทลิน

คำนำ

ปีที่เริ่มเขียนเรื่อง “นางฟ้าของยูริ” และพิมพ์เผยแพร่ในนามปากกา ‘แปงคำ’ เมื่อ พ.ศ. 2528 ผู้เขียนอายุ 32 ปี ด้วยคำถามของบรรณาธิการ สตรีสารคุณนิลวรรณ ปิ่นทอง ผู้ตรวจแก้ต้นฉบับและตีพิมพ์เผยแพร่ในขณะนั้นที่ว่า “ยังมีเรื่องจะเล่าต่ออีกไหม” อีก 4 เรื่องจึงได้เขียนตามกันออกมาและตีพิมพ์ใน สตรีสาร ทุกเรื่อง

ทิ้งช่วงหลายปีหลังจากนั้น ก็ได้เขียนอีก 2 เรื่องไว้ คือ “ดิยาดิยะ คนเดียวของหลาน” และ “คำสั่งเสียของยูริ” เพื่อให้เรื่องราวของ “ยูริ กรานอฟ” ตัวละครเอกในวัยไม้ใกล้ฝั่ง ได้จบลงอย่างบริบูรณ์ แม้รู้ว่าอาจจะไม่มีที่ไหนตีพิมพ์ให้และอาจไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ที่ไหนเลยอีกก็ได้

ณ วันนี้ พ.ศ. 2566 ในวัยที่ผู้เขียนย่างเข้าสู่วัยเดียวกับตัวละครทั้งสองที่เขียนถึง ผ่านการได้เห็นได้อ่านพินัยกรรมมาหลายฉบับรวมทั้งได้เริ่มคิดเริ่มทำพินัยกรรมฉบับของตัวเองด้วย จึงเป็นที่มาของแรงบันดาลใจให้เขียนเรื่อง “พินัยกรรมของคัทลิน” ซึ่งได้เขียนขึ้นใหม่ล่าสุดในวันที่เกิดความขัดแย้งครั้งใหญ่ในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อเติมเต็มชีวิตคู่วัยชราของ “ยูริ-คัทลิน” ในชุดเรื่องแต่งที่เคยเขียนไว้ การรวบรวมพิมพ์เรื่องสั้น 8 เรื่องโดยมีตัวละครชุดเดียวกันแต่เขียนต่างกาลเวลากันในช่วง 38 ปี ทำให้รู้สึกเหมือนว่าได้ทำหน้าที่ของนักเขียนอย่างดีที่สุดแล้วคือแต่งเรื่องที่ได้เริ่มต้นไว้จนจบ จากนี้ไป วัยชราภาพของตัวละคร ยูริ-คัทลิน ที่ยังมีอยู่ในใจเสมอมาและแจ่มชัดยิ่งขึ้นเมื่อผู้เขียนได้เริ่มลิ้มรสวัยสูงอายุของตนเอง ก็จะได้มีชีวิตที่สมบูรณ์โลดแล่นอยู่ต่อไปได้ในโลกของเรื่องแต่ง

สุกัญญา หาญตระกูล
กรุงเทพฯ
8 มีนาคม 2566

Related products