Year published :พ.ศ.​ 2551

Pages :340 หน้า

Size :17x24 ซม.

ISBN: 9789749511374

มองพม่าผ่านชเวดากอง

by นฤมล ธีรวัฒน์

สหภาพเมียนมาร์หรือพม่า เพื่อนบ้านของไทย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทั้งด้านชาติพันธุ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา วัฒนธรรมความเชื่อ ที่สำคัญอย่างยิ่งเป็นประเทศที่เต็มไปด้วย “พลัง” เป็นเอกลักษณ์ที่ทั้งรัฐบาลและชาวพม่าต่างร่วมกันถนอมไว้เพื่อคงความเป็นประเทศที่มีอารยธรรมมายาวนาน ความหลากหลายที่เป็นหนึ่งเดียวนั้นประกอบด้วยอะไรบ้างจึงเป็นสิ่งที่หลายคนค้นหาคำตอบเพื่อคลายความคลางแคลงใจของแต่ละคน

คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นำโดย ผศ. นฤมล ธีรวัฒน์ มีทัศนะว่าสิ่งที่สร้าง “พลัง” ให้แก่ชาวพม่าน่าจะเป็นศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณ–พระมหาเจดีย์ชเวดากอง–ที่ไม่ใช่แค่ศูนย์รวมของชาวพม่าเท่านั้น ยังแผ่กระจายทั่วเอเชียอาคเนย์ ไม่ว่าจะมองส่วนใดของพระมหาเจดีย์หรือมุมไหนในปริมณฑล ก็สามารถสะท้อนได้ถึงความลุ่มลึกในศรัทธาพระพุทธศาสนา คติความเชื่อ ศิลปะหัตถกรรม วรรณกรรม วัฒนธรรม เป็นสถานที่ที่ทุกคนต้องนำสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตและดีที่สุดในประเทศถวายเป็นพุทธบูชา เป็นสถานที่รวมของบุคลากรระดับปรมาจารย์ สะท้อนให้เห็นถึงการสังสรรค์ความสัมพันธ์ของคนทุกระดับในสังคม การจัดการในชุมชน และเศรษฐกิจที่เป็นระบบ แม้แต่คนพม่าที่อยู่ต่างเมืองหรือเมืองชายขอบ ยังต้องนำไปพัฒนาใช้กับเมืองของตน ดังเห็นว่ามีการจำลองพระเจดีย์ชเวดากองขึ้นทั่วไปในหัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ

คณะวิจัยเป็นคณาจารย์สาขาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย ดร. ม.ร.ว.รุจยา อาภากร รศ. ม.ล.สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ รศ. อุษณีย์ ธงไชย อัมพิกา รัตนพิทักษ์ ธวัชชัย ทำทอง ธัญญารัตน์ อภิวงค์ และ สิทธิพร เนตรนิยม ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิชาวพม่าคือ อู ต่อกาว (U Thaw Kaung) และ อู ซายอ่าวทูน (U Sai Aung Tun) โดยรับทุนดำเนินงานจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผ่านโครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค (อบศ.5)

Related products