Year published :มิถุนายน 2557
Pages :214 หน้า
Size :14x21 ซม.
Tables :7 ภาพ 2 ตาราง 2 แผนภูมิ
ISBN: 9786162150784
เส้นทางและร่องรอย : เมืองไทยกับงานของแอนดรู เทอร์ตัน
by ฟิลลิป เฮิร์ช และ นิโคลัส แท็ปป์สร้อยมาศ รุ่งมณี • อัจฉรา รักยุติธรรม แปล
แปลจาก Tracks and Trace, Thailand and the Work of Andrew Turton edited by Philip Hirsch and Nicholas Tapp (2011)
เส้นทางและร่องรอย : เมืองไทยกับงานของแอนดรู เทอร์ตัน แกะรอยเส้นด้ายที่ผูกร้อยความ เข้าใจประเทศไทยในลักษณะสังคมที่มีพลวัตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยการศึกษาผลงานของ “แอนดรู เทอร์ตัน” นักวิชาการที่โดดเด่น การศึกษาทางมานุษยวิทยาในประเทศไทยของเทอร์ตัน คลุมภาพกว้างตั้งแต่เรื่องการเมือง เศรษฐกิจ พิธีกรรม และวัฒนธรรม และยังมีความสำคัญต่อพัฒนาการ การทำความเข้าใจสังคมไทย
รวมบทความเล่มนี้มาเป็นผลงานเขียนของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องประเทศไทยหลายสาขา ที่ได้วิเคราะห์แง่มุมต่างๆ ในงานของเทอร์ตันที่เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในด้านต่างๆ หนังสือ เล่มนี้แกะรอยความเชื่อมโยงระหว่างงานวิชาการในอดีตกับปัจจุบัน และตรวจสอบบริบททางการศึกษาของแต่ละช่วงเวลา รวมถึงทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย
“หนังสือรวมบทความเล่มนี้ ใช้ผลงานวิชาการอันหลากหลายของแอนดรู เทอร์ตัน เป็นกรอบคิดใน การวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับไทศึกษา น่ายกย่องที่อิทธิพลทางความคิดของนักวิชาการท่านหนึ่งได้ส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่น และยังช่วยทำให้เราเข้าใจปัจจุบันผ่านอดีต” ธงชัย วินิจจะกูล, ศาสตราจารย์สาขาประวัติศาสตร์เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้, มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
“นี่เป็นหนังสือเล่มสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี และปูพื้นฐานประเด็นร่วมสมัย รวมถึงสะท้อนการวิเคราะห์ไทศึกษาเชิงวิพากษ์ ซึ่งนักวิชาการรุ่นปัจจุบันควรจะให้ความสนใจ” เควิน ฮิววิสัน, ศาสตราจารย์สาขาเอเชียศึกษา, มหาวิทยาลัยเมอร์ด็อก
ฟิลลิป เฮิร์ช ศาสตราจารย์สาขาภูมิศาสตร์มนุษย์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ มีผลงานตีพิมพ์หลากหลาย ในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และการพัฒนาในประเทศไทยและประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
นิโคลัส แท็ปป์ ศาสตราจารย์สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย มีผลงานตีพิมพ์เกี่ยวกับชาติพันธุ์ม้งในประเทศไทยและในภูมิภาค
Share this item: