สุกสว่างพ่างเพี้ยง สุริยันกว่าพันดวง
by Silkworm Booksแปลจาก Brighter than a Thousand Suns โดย Robert Jungk
ถิรพัฒน์ วิลัยทอง และ สดชื่น วิบูลยเสข แปลและเรียบเรียง
เพราะพิษสงของระเบิดปรมาณูยังคงปกคลุมจิตใจเราทุกคนแม้จนเดี๋ยวนี้ จึงเกิด คำถาม ที่ค้างคาใจของทุกคนไปแล้วว่า ทำไมต้องฮิโรชิมาและนางาซากิ ให้สงสัยว่าคนคิดสร้าง ระเบิดนั้นจะรู้สึกผิดต่อการกระทำของตนบ้างไหม จะมีสำนึกตระหนักในบาปกรรมอัน เคยก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมแก่มวลมนุษย์ในอดีตที่ผ่านมาหรือไม่ ฯลฯ คำถามต่างๆ นั้น น่าจะคลี่คลายลงเมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้ สุกสว่างพ่างเพี้ยง สุริยันกว่าพันดวง หนังสือที่ ได้รับการยกย่องให้เป็น “พงศาวดารวิทยาศาสตร์” ในเวลานี้ เพราะนี่… ไม่ใช่งานที่ เขียนถึงระเบิดปรมาณูในแบบเดิมๆ ที่เน้นเพียงความรู้และการผลิต แต่เป็นเรื่องราว ของงานวิทยาศาสตร์ของนักฟิสิกส์ปรมาณูรุ่นแรกๆ ที่มีความสัมพันธ์กันกับนักบริหาร การเมือง นักปกครอง เป็นเรื่องของความรู้สึก ความคิดส่วนตัว และแนวทางการเมือง ที่ยากจะแกะคลายออก
. . . . . .
บางส่วนจากคำนำของ ชัยอนันต์ สมุทวณิช เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้เมื่อ กรกฎาคม 2533 กล่าวว่า
“. . . เรื่องที่แปลนี้มิใช่นวนิยายหากเป็นเรื่องจริง ที่มิใช่เรื่องทางวิทยาศาสตร์หาก เป็นชีวิตจริงของนักฟิสิกส์ ซึ่งเผชิญกับปมปัญหาที่คลายไม่ออกระหว่างความรู้บริสุทธิ์ที่ได้ มากจากการค้นคว้ากับการที่ตัวความรู้นั้นถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป้าหมายที่ขัดกับความ สำนึกทางศีลธรรม—จริยธรรมอย่างรุนแรง—ที่ Robert Jungk เขียนขึ้นและพิมพ์ในปี ค.ศ. 1956 เป็นภาษาเยอรมัน และมีการแปลออกเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1958 C. P. Snow กล่าวว่าหนังสือของ Jungk เล่มนี้เป็น “งานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอะตอมิค บอมที่น่าสนใจที่สุดเท่าที่มีอยู่”
มีผู้เรียกนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายว่าพวกเขาคือพระเจ้าในร่างของมนุษย์ ไม่ว่าจะ เป็น กาลิเลโอ นิวตัน หรือ ไอน์สไตน์ คนเหล่านี้คือผู้ค้นพบกฎของจักรวาล และการค้น พบของเขาล้วนมีผลสะท้อนอย่างใหญ่หลวงต่อโลกเราทั้งสิ้น . . .
⚛
ผมอ่านหนังสือมาหลายเล่ม แต่รู้สึกว่าเล่มนี้จะมีอิทธิพลต่อจิตสำนึกของผมในฐานะ นักวิชาการมากกว่าเล่มใดๆ ปมปัญหาที่เกิดจากเรื่องราวของนักฟิสิกส์ หรือ “พระเจ้าใน ร่างมนุษย์” นี้เป็นปมปัญหาทางจริยธรรมของเราทุกคนไม่ว่าเราจะอยู่ในฐานะใด
ผมดีใจที่หนังสือเล่มนี้แปลเสร็จในต้นปี 2533 มีหลายคนถามว่าหนังสือนี้พิมพ์เป็น ภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ปี 1958 (2501) แล้วจะไม่ล้าสมัยไปหรือ ผมก็ได้แต่ตอบว่า หนังสือ นี้ไม่มีอันจะล้าสมัย ตราบเท่าที่ยังมีความไม่ยุติธรรม ความชั่ว อำนาจส่วนตัว ประโยชน์ สุขส่วนรวม การสร้าง การทำลายล้าง และความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นพลเมืองของ ชาติหนึ่งๆ กับความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นพลเมืองโลก ผลักดันให้เราต้องตัดสินใจหา ทางเลือกที่ได้ดุลอยู่ตลอดเวลา . . .”
Share this item: